โหด เลว ดี: ธนาคารกลางยุคปี 2023

ในวงการธนาคารกลางในช่วงกว่าขวบปีที่ผ่านมา ต้องถือว่ามีดราม่าอยู่อย่างค่อนข้างมากมาย หากให้ผมจัดกลุ่มผู้ว่าการธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงนี้ ออกเป็นแนวเอเชียๆหน่อย ผมขอแบ่งกลุ่มเป็นแบบโหด เลว ดี ดังนี้

501

ในวงการธนาคารกลางในช่วงกว่าขวบปีที่ผ่านมา ต้องถือว่ามีดราม่าอยู่อย่างค่อนข้างมากมาย หากให้ผมจัดกลุ่มผู้ว่าการธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงนี้ ออกเป็นแนวเอเชียๆหน่อย ผมขอแบ่งกลุ่มเป็นแบบโหด เลว ดี ดังนี้

เริ่มจาก เอวิร่า นาบิวลิน่า ผู้ว่าการธนาคารกลางรัสเซีย ซึ่งต้องยอมรับว่าเธอคือผู้ว่าการธนาคารกลางซึ่งได้กอบกู้เศรษฐกิจรัสเซียในช่วงที่นานาประเทศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียหลังการบุกยูเครนของรัสเซีย โดยผมมองว่าเธอคือผู้ว่าแบงก์ชาติที่น่าจะดีที่สุดในโลกหลังจากยุคพอล โวลก์เกอร์ และ เบน เบอร์นันเก้ ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้

การไม่ให้ผู้นำรัสเซียประกาศ Capital Control โดยขู่ว่าจะลาออกหากใช้มาตรการดังกล่าว: โดยในช่วงหลังจากที่รัสเซียใช้กำลังทหารบุกยูเครนเมื่อต้นปีที่แล้ว ปรากฎว่าชาติตะวันตกได้ประกาศคว่ำบาตรไม่ซื้อน้ำมันจากรัสเซีย ส่งผลให้การผลิตน้ำมันมีปริมาณที่ลดลงเกือบ 20% รวมถึงทางสหรัฐได้ใช้นโยบายไม่ให้ใช้เงินดอลลาร์เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้กับรัสเซียอีก ทำให้ค่าเงินสกุลรูเบิลอ่อนค่าลงราว 80% ทำให้ทางวลาดิเมียร์ปูติน ผู้นำรัสเซีย เตรียมประกาศควบคุมการไหลเข้าและออกของเงินตราระหว่างประเทศ (Capital Control)

ซึ่งทางผู้ว่าฯนาบิวลิน่าประกาศว่าหากปูตินใช้มาตรการนี้จริงๆเธอจะประกาศลาออกจากตำแหน่งทันที ซึ่งปูตินจำเป็นต้องยอมตามคำขู่ของเธอ โดยเธอได้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดการไหลออกของเงินรูเบิล รวมถึงได้มีมาตรการรณรงค์ให้ชาวรัสเซียขายเงินสกุลต่างประเทศเพื่อเก็บเงินในสกุลรูเบิลเพื่อเป็นการช่วยชาติ

นอกจากนี้ ยังทำการบริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศด้วยการเปลี่ยนมาถือเงินสกุลที่ไม่ใช่ดอลลาร์ และยุโรปเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเบิลให้ดีที่สุด

การจับจังหวะการขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบถูกทางกับภาวะเศรษฐกิจ: โดยหากมองย้อนกลับไป จะพบว่าธนาคารกลางรัสเซียได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบรวดเร็วและด้วยขนาดถึงกว่า 3% เพื่อช่วยเศรษฐกิจรัสเซียหลังเกิดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากชาติตะวันตก และเมื่ออัตราเงินเฟ้อขึ้นมาอย่างรวดเร็วในกลางปี 2022 ทางธนาคารกลางรัสเซียก็ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึงกว่า 5% เพื่อสกัดเงินเฟ้อและช่วยการป้องกันการถูกโจมตีค่าเงินสกุลรูเบิล โดยหลังจากสกัดเงินเฟ้อได้แล้ว ก็ค่อยๆลดกอกเบี้ยจนมาอยู่ที่ 7.5% ในปัจจุบัน เรียกได้ว่าใช้มาตรการทางดอกเบี้ยได้เหมาะสมที่สุดต่อการบริหารเศรษฐกิจ

โดยคงต้องยอมรับว่าเธอได้รับงานที่ออกจะโหดมากๆ สำหรับการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการเงิน ในฐานะผู้ว่าการธนาคารกลางรัสเซีย

ท่านถัดไป ถือว่าคุ้นหน้ากันดี คือ แอนดริว ไบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ต้องถือว่าไบลีย์มีโชคเล็กๆเมื่อปีที่แล้ว หลังจากออกทะเลในการเชิญชวนให้ลูกจ้างไม่ควรขอเพิ่มเงินเดือนต่อนายจ้าง เพื่อสกัดไม่ให้เงินเฟ้อสูงขึ้นไปอีก ด้วยการช่วยแก้ปัญหาวิกฤตตลาดพันธบัตรอังกฤษ หลังจากที่ริซ ทรัส อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศจะลดดอกเบี้ยนโยบาย โดยหลังจากนั้น ธนาคารกลางอังกฤษก็ขึ้นดอกเบี้ยมาเรื่อยๆเพื่อสกัดอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงกว่าประเทศตะวันตกอื่นๆ รวมถึงเศรษฐกิจอังกฤษที่ก็ยังถือว่าเสี่ยงต่อ Recession แบบระยะยาวๆได้ไม่ยาก

ทั้งนี้ ไบลีย์ได้กล่าวถึงสาเหตุที่สถานการณ์เป็นเช่นนี้ว่า ส่วนหลักๆมาจากโมเดลทางเศรษฐกิจที่แบงก์ชาติอังกฤษใช้อยู่ตั้งแต่ในอดีตจนถึงในขณะนี้ ถือว่าไม่มีความทันสมัยหรือจัดได้ว่ามีประสิทธิภาพที่ดูเลวร้าย สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ดูรุนแรงและล้ำลึกกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก

ท่านสุดท้าย ได้แก่ คาซูโอะ อูอิดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเศรษฐกิจและตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้รับข่าวที่ดีเป็นส่วนใหญ่หลังจากเข้ามารับตำแหน่งนี้มาเป็นเวลาราว 2 เดือน โดยสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากการวาง positioning นโยบายการเงินและตลาดเงินได้อย่างเหมาะสมมากในช่วงต้นๆสำหรับวาระการทำงานในตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติ โดยอูเอดะได้มีการประสานงานกันระหว่างนโยบายการเงินและการคลังของญี่ปุ่นภายใต้อูเอดะในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ภายใต้นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ซึ่งทำให้น่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถเติบโตได้ดีขึ้นภายใต้การออกจากโหมดนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นอย่างมากในกรอบระยะเวลา 5 ปีในวาระผู้ว่าแบงก์ชาติญี่ปุ่นของอูเอดะ

บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

 

Comments