‘แคธี่ วู้ด’แห่ง ARK กับ’อำนาจใหม่’ที่มี

MacroView เลือก หนังสือแห่งปี 62 เพราะมีวิธีการน่าสนใจในการโน้มน้าวให้คล้อยตามแนวคิด ได้แก่ New Power และ ARK เป็นกองทุนอีทีเอฟแห่งปี 63 ที่เป็นอันดับ 1 ของวงการ บทความนี้จะมองว่าทั้งคู่ได้สื่อให้เห็นถึงแนวโน้มของ New Power ซึ่งเผอิญมาตรงกันอย่างไม่น่าเชื่อ โดยจะขอเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า แคธี่ วู้ด เบอร์ 1 ของ ARK กับ อำนาจใหม่ที่เธอมี

1891

‘แคธี่ วู้ด’แห่ง ARK กับ’อำนาจใหม่’ที่มี

บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

ผมเคยเลือกให้ New Power โดยเฮนรี ทิมมส์-เจเรมี ไฮน์แมนส์ เป็นหนังสือแห่งปี 62 เพราะมีวิธีการน่าสนใจในการโน้มน้าวให้คล้อยตามแนวคิด New Power

ในคอลัมน์นี้อีกเช่นกันในปีต่อมา ผมก็เลือก ARK เป็นกองทุนอีทีเอฟแห่งปี 63 ที่เป็นอันดับ 1 ของวงการ บทความนี้จะมองว่าทั้งคู่ได้สื่อให้เห็นถึงแนวโน้มของ New Power ซึ่งเผอิญมาตรงกันอย่างไม่น่าเชื่อ โดยจะขอเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า แคธี่ วู้ด เบอร์ 1 ของ ARK กับ อำนาจใหม่ที่เธอมี ดังนี้

หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง บริษัทด้านการลงทุนด้านกองทุนอีทีเอฟแนว Old Power Values กับ New Power Values จะพบความแตกต่าง ตามตารางที่ 1 ดังนี้

1.บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านกองทุนรวมเจ้าเดิมๆนั้น จะมีระบบการบริหารจัดการแบบเป็นทางการ รวมถึงคนทำงานที่รู้จริงในรายละเอียดของเรื่องราวการลงทุนต่างๆ ก็ยังอยู่ภายใต้คำสั่งหรือกรอบของหน่วยงานหรือสถาบันที่ตนสังกัดอยู่ ในขณะที่ ARK มีการกำกับแบบที่เป็นเครือข่าย นั่นคือ ผู้จัดการกองทุนหรือนักวิเคราะห์ท่านใดของ ARK เมื่อเห็นโอกาสการลงทุนในสาขาที่ตนถนัด ก็เพียงแค่ไปคุยกับวู้ดส์เพื่อการตัดสินใจครั้งสุดท้าย จากนั้นก็เดินหน้าลงทุนได้เลย

2.บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนในอดีต มักชอบที่จะให้นักวิเคราะห์หรือผู้จัดการกองทุนในบริษัทแข่งขันกันเองเพื่อให้ได้ผลตอบแทนดีที่สุด รวมถึงมีการกั๊กทรัพยากรระหว่างพนักงานด้วยกัน หรือแม้กระทั่งเล่นการเมืองแบบลับๆระหว่างเจ้านายที่เริ่มไม่มั่นใจในความสามารถของตนเองกับลูกน้องที่มีศักยภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือที่เรียกว่าสกัดดาวรุ่ง.

ในขณะที่ ARK เน้นให้เกิดความร่วมมือและแชร์ข้อมูลกับบทวิเคราะห์ระหว่างพนักงานด้วยกันเอง โดยการที่ ARK สามารถทำได้ดีในจุดนี้นั้น หนึ่งในเหตุผลคือ จำนวนบุคลากรในทีมการลงทุนของ ARK ยังค่อนข้างน้อยอยู่ โดยที่แต่ละคนจะรับผิดชอบ Product ของตนเอง โดยที่ไม่ไปเกี่ยวข้องหรือแข่งขันกับท่านอื่น รวมถึงวู้ดเองก็ดูแลลูกน้องทุกคนได้แบบค่อนข้างเข้าถึงตัวได้โดยตรง

3.บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนเจ้าเดิมๆ มักจะชอบมีความลับด้านการลงทุน หวงสูตรการลงทุนที่ตนเองมี และมีการแบ่งแยกระหว่างโลกส่วนตัวของบริษัทกับโลกที่เปิดเผยให้กับสาธารณชน

ในขณะที่ ARK นั้น หุ้นทุกตัวที่แคธี วู้ด เข้าลงทุน จะได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชนในวันถัดไป โดยที่ไม่เสียเปรียบต่อคู่แข่ง เนื่องจากมีหุ้นหลายตัวที่ ARK ถือเยอะจนบริษัทอื่นซื้อแทบไม่ได้ รวมถึง ARK เองก็เน้นการขายออกค่อนข้างบ่อยระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้กลยุทธ์การเลียนแบบ ARK ก็ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มเท่าที่ควรต่อคู่แข่ง

4.บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนในอดีต มักจะชอบให้ตนเองมีความชำนาญแบบมืออาชีพ โดยที่เน้นความรู้ที่เป็นเฉพาะด้าน ในขณะที่ ARK เน้นไปหาหุ้นใหม่ๆ จากเทคโนโลยีในสาขาที่ยังไม่นิ่งซึ่งยังต้องการวัฒนธรรมที่กล้าลองของใหม่ จึงเหมือนเป็นการไม่ยึดติดกับความรู้ที่เป็นเฉพาะด้าน ซึ่งจะไม่ได้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดอีกต่อไปแล้ว

5.สำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนเจ้าเดิมๆนั้น ผู้บริหารชอบให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีในความเก่งของตนเองแบบนานๆ โดยที่ไม่ได้ให้ลูกน้องมีส่วนร่วมมากเท่าไหร่นัก ส่วน ARK เน้นให้ลูกค้าใช้บริการผลิตภัณฑ์ที่โดนใจในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่นของตนเองเมื่อมีความฮ๊อตมากกว่า รวมถึงบรรดาลูกน้องของแคธี วู้ดต่างมีส่วนร่วมต่อการลงทุนจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่อยู่ในบริษัทและในโลกออนไลน์

แคธี่ วู้ด แห่ง ARK ได้สอนแบบทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ให้เรารู้จากการใช้แบบอย่างของโลกในปัจจุบัน ว่าด้วยความเชื่อเดิมๆ ที่ว่าการเติบโตในองค์กรที่ใหญ่ แล้วไต่บันไดในตำแหน่งขององค์กรเพื่อให้อยู่ในลำดับที่สูงเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว โดยชี้ว่าการปลดพนักงานหรือผู้บริหารในองค์กร เป็นเรื่องที่จะเห็นกันบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต จากกระแสการ Disrupt ที่มีในทุกวงการ

เธอทำให้เรารู้ว่าผู้ที่จะอยู่รอดในสังคมยุคใหม่ ให้หาอำนาจที่เป็น New Power ด้วยตนเอง โดยให้ลืมความเชื่อเดิมๆที่เป็น Old Power เนื่องจากมันไม่ได้มีอยู่เหมือนเดิมอีกต่อ โดย สามารถแบ่งเป็น 2 แกน ได้แก่ New/Old Power Value และ New/Old Power Model

Old Power Value ดังตารางที่ 2 นั้น ยังคงคลุกอยู่กับการบริหารจัดการที่เป็นทางการ เน้นการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วยตนเอง ข้อมูลทุกอย่างจะเป็นความลับ และเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างกันในระยะยาว โดยไม่เน้นการมีส่วนร่วมในภาพรวม ส่วนด้าน New Power Valueนั้น การเกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันในรูปแบบของเครือข่าย เน้นการร่วมมือแบบ Open-source มีความโปร่งใสในข้อมูลต่างๆ และเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างกัน

ในส่วนของ Model หรือแพลตฟอร์มในการสื่อสารกับผู้ที่เป็นลูกค้า ว่าการใช้ New Power Model หรือเครื่องมือที่สื่อสารกับมวลชนยุคใหม่ ที่เน้น Mobility อย่างโซเชียลเน็ตเวิรค์ส นั้น มีโอกาสที่จะชนะมากกว่าผู้ที่ใช้แต่ Old Power Model หรือเครื่องมือที่สื่อสารกับมวลชนในอดีต อย่างทีวีหรือหนังสือพิมพ์ สำหรับบริษัทต่างๆจะอยู่ในแกน New หรือ Old Power แสดงดังตาราง

ตาราง: บริษัทในแผนที่ระหว่างแกน New/Old Power Value และ New/Old Power Model

อย่างไรก็ดี จุดที่สามารถเปรียบเทียบกรณีศึกษาของ New Power ซึ่งเห็นได้ชัด ได้แก่ อีทีเอฟ ARKG หรือ ARK Genomic Revolution ของวู้ด

โดย ARKG เป็นการใช้ตัวอย่างของ ARK ในการสร้าง Branding เพื่อสื่อว่าวู้ดได้ทำการใช้เทคโนโลยีทางพันธุกรรมแนวใหม่และโลกออนไลน์ เพื่อทลายกำแพงของความเชื่อที่ว่าหุ้นแนว Healthcare จะต้องเป็นธุรกิจที่อนุรักษ์นิยมเท่านั้น หรือต้องเป็นธุรกิจในแบบที่มีความเฉพาะตัว อย่างเครื่องมือทางการแพทย์เท่านั้น โดยเธอได้นำหุ้นแนวเทคโนโลยีทางพันธุกรรมที่แปลกใหม่เข้ามาในส่วนของพอร์ตหุ้นกลุ่ม Healthcare

จนทำให้ ณ วันนี้ หุ้นกลุ่ม Healthcare ได้กลายเป็นหุ้นสไตล์ Tech ค่อนข้างจ๋ามากขึ้น แบบที่ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

หมายเหตุ: หนังสือการลงทุนเล่มใหม่ ‘หุ้น Avengers: Infinity Stock’  ว่าด้วยการใช้ข้อมูลและแนวคิดเชิงมหภาคแบบครบทุกมิติในการลงทุน ผลงานหนังสือเล่มที่ 5 ของผู้เขียน วางตลาดที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศแล้ว

ที่มาภาพ: Dow Jones & Company

Comments