ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่มีระดับที่สูงขึ้นจากการโจมตีจุดยุทธศาตร์โรงกลั่นซาอุดิอาระเบีย มีโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นสูงสุด 20% ในช่วงที่เหลือของปี 2019

  • มองว่าความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) จะมีระดับที่สูงขึ้น จากโอกาสไม่น้อยที่จะมีการกลับมาทำลายของโดรนอีกครั้งและสหรัฐใช้เหตุการณ์นี้ในการสร้างความชอบธรรมในการสร้างแรงกดดันการ Sanction ต่ออิหร่านให้มากขึ้นกว่าในตอนนี้  ทำให้มองว่าโอกาสการกลับมาเป็นขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลกในช่วงที่เหลือของปี 2019 โดยคาดว่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 9-20
  • ประเมินว่ามีโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบ WTI จะเพิ่มขึ้นสูงสุดได้ 20% จากระดับปัจจุบัน จากผลของซาอุดิอาระเบียลดกำลังการผลิตหลังถูกโดรนโจมตัโรงกลั่นหลัก โดยมี Base Scenario ที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10 ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ต่อจากนี้

แม้ว่าซาอุดิอาะเบียจะสามารถซ่อมแซมหน่วยการกลั่นที่ Abqaiq และ Khurais  ซึ่งได้รับความเสียหายให้กลับคืนเฉลี่ยมาได้ราวหนึ่งในสามของทั้งหมดภายใน 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ดี เรายังมองว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบโลกในช่วงที่เหลือของปี 2019 ยังมีความเสี่ยงในทางขาขึ้นต่อเนื่อง จากการที่น้ำมันดิบที่ถูกโจมตีโรงกลั่นที่มีกำลังการผลิต 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายหลังเหตุการณ์การโจมตีโดยโดรนต่อแหล่งน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียนั้น ทว่าเรามองว่าจะไม่เป็นเพียง one-off event แต่จะยังส่งผลต่อเนื่องต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบโลก ด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้

หนึ่ง โอกาสไม่น้อยที่จะมีการกลับมาทำลายของโดรนอีกครั้ง สำหรับจุดขนส่งน้ำมันหลักหรือหน่วยการกลั่นแห่งอื่นๆของโลก ไม่ว่าจะเป็นซาอุดิอาระเบีย หรือประเทศผลิตน้ำมันดิบขนาดใหญ่ ไม่เว้นแม้แต่จุดเดิมที่ Khurais ของซาอุดิอาระเบียที่ถูกโจมตี

สอง รัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ มีโอกาสใช้เหตุการณ์นี้ ซึ่งนายไมค์ ปอมปิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ได้ชี้ชัดไปแล้วว่าเป็นฝีมือของอิหร่าน สร้างแรงกดดันการ Sanction ต่ออิหร่านให้มากขึ้นกว่าในตอนนี้

ท้ายสุด ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) จะมีระดับที่สูงขึ้น ด้วยบรรยากาศการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายอิหร่านและพันธมิตร กับ ฝ่ายซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรอื่นๆในตะวันออกกลาง รวมถึงสหรัฐ ทั้งในทางตรงผ่านการต่อสู้กันด้วยอาวุธในเยเมนและซีเรียที่รุนแรงขึ้น และทางอ้อมผ่านการคว่ำบาตรอิหร่านทั้งในขนาดและรูปแบบที่หลายหลายกว่าในปัจจุบัน

เราจะแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ในส่วนแรก นอกจากสามปัจจัยดังกล่าวที่ส่งผลต่อเนื่องต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบโลก เราประเมินว่าโรงกลั่น ที่ Abqaiq  และ Khurais จะยังไม่สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่เหมือนกับในช่วงก่อนถูกโจมตี โดยมองว่าจะกลับมาได้ร้อยละ 50-90 ตามความรุนแรงของหน่วยการกลั่นที่ถูกโจมตีว่ามีมากน้อยเพียงใด แม้ซาอุดิอาระเบียจะมีปริมาณในสต็อคเป็นสำรองราว 187.9 ล้านบาร์เรล หรือ 26.8 วันหากไม่มีการผลิตน้ำมันดิบเลย ตามการคาดการณ์ของ Joint Organizations Data Initiative

สำหรับปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียนั้น มูลค่าการส่งออกน้ำมันดิบน่าจะลดลงจากเดิมราว 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยลดลงราว 0.57-2.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน แล้วแต่ความรุนแรงของหน่วยการกลั่นที่ถูกโจมตี

ในส่วนที่สอง เราจะวิเคราะห์ถึงการเพิ่มขึ้นของผลกระทบจากการลดลงของปริมาณการผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบลดลงมากน้อยเท่าไหร่

ดังตาราง จากข้อมูลการศึกษา 10 ประเทศ รวมถึงอิหร่าน โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาส ระหว่างปี 1995 – 2007 โดยใช้แหล่งข้อมูลด้านราคาน้ำมันดิบ จาก OPEC Statistics Review ข้อมูลการผลิตน้ำมันดิบและกำลังการผลิต จาก EIA และ ข้อมูลสำรองน้ำมันดิบจาก BP Statistics Review of World Energy website

ในการใช้งานศึกษาของการเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกต่อราคาน้ำมันนั้น เราประยุกต์ผลการวิเคราะห์ของ Summary Statistics  โดยเปรียบเทียบ Spare Capacity (ผลต่างระหว่าง Capacity และ Quota) กับระดับราคาน้ำมันดิบ โดยใช้การเปลี่ยนแปลงของ Spare Capacity และ ระดับราคาน้ำมันดิบ จาก Q3 ถึง Median สำหรับบรรยากาศราคาน้ำมันในระดับสูง (ราคา WTI ประมาณ 57-58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) ซึ่งใกล้เคียงกับระดับราคาของ WTI ในปัจจุบันก่อนถูกโจมตีโดยโดรน โดยการเปลี่ยนแปลงของ Spare Capacity และ ระดับราคาน้ำมันดิบ จาก Q3 ถึง Median คือ จาก 0.58 เป็น 0.31 หรือน้ำมันออกมาจากซาอุดิอาระเบียลดลงสูงสุดร้อยละ 48  จะส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มจาก 25.58 เป็น 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล  หรือ เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 38

นั่นคือ เมื่อซาอุดิอาระเบียลดกำลังการผลิต 0.57-2.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณร้อยละ 0.6-3 ของกำลังการผลิตทั้งหมดของโลก จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 9-20 นั่นคือ ราคา WTI จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 63-72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล  จากการที่ซาอุดิอาระเบียลดกำลังการผลิตดังกล่าว โดย Scenario นี้ (ดังเช่นในปัจจุบัน) ผลของซาอุดิอาระเบียลดกำลังการผลิต จะส่งต่อราคาน้ำมันดิบให้สูงสุดมากที่สุด เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 โดยมี Base Scenario ที่เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10 ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ต่อจากนี้

ที่มา: Trinity Securities

 

Comments