อนาคตจีนยุคประธาน สี จิ้น ผิง

3196

Xi Jinping (BBCThai)

ได้ฟังแนวคิดของประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง เกี่ยวกับอนาคตของจีน ในการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 เมื่อเดือนที่แล้ว

ต้องบอกว่ามีเซนส์ของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือ Paradigm Shift อยู่ไม่น้อย ผมมองว่าประธานาธิบดีสี ได้นำสิ่งที่แนวคิดตะวันตกเรียกกันว่า endogenous growth หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีแหล่งกำเนิดจากระดับผลิตภาพที่สูงขึ้นเข้ามาใส่ในนโยบายการบริหารประเทศของจีนเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังนำแนวคิดเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงความโปร่งใสแบบไร้คอร์รัปชั่น ซึ่งพยายามจะใช้ ‘Rule of Law’ เหมือนกับชาติตะวันตกมาใส่ไว้ในโมเดลการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน

ซึ่งแต่เดิมนั้น ในสมัยท่านผู้นำ เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้โมเดลการเติบโตที่เน้นแรงงานจีนซึ่งมีค่าแรงที่ยังถูกอยู่ในสมัยนั้น มาเป็นตัวผลักให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว หรือที่ทางตะวันตกเรียกว่าโมเดลการเติบโตแบบ exogenous growth นอกจากนี้ ยังมีนโยบายการลดช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนในนโยบายของประเทศจีนเป็นครั้งแรกอีกด้วย โดยผมขอสรุปไว้ 4 ประการ ดังนี้

หนึ่ง ประธานาธิบดี สี ตั้งเป้าหมายโดยแบ่งเฟสการผงาดขึ้นมาของประเทศจีนออกเป็น เฟส ได้แก่ ช่วงแรกภายในปี 2035 ให้สังคมของชาวจีนมีความมั่งคั่งแบบพอฟัดพอเหวี่ยงกับโลกตะวันตก และภายในปี 2050 ให้จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นมหาอำนาจของโลก

สอง หากใครรู้หรือคุ้นเคยภาษาจีน จะทราบว่าสิ่งที่คนจีนแตกต่างจากชาวตะวันตก คือคนจีนมักจะท่องประโยคที่มี คำซึ่งแบ่งเป็น คำออกเป็น กลุ่ม โดยที่ความหมายของแต่ละกลุ่มนั้นเหมือนดูแล้วขัดแย้งกันเอง ทว่าเมื่อรวมความหมายของทั้ง กลุ่มเข้าด้วยกัน จะเป็นความสมดุลในการที่จะทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จลุล่วง หรืออาจจะเรียกง่ายๆว่าเป็นหยินกับหยางก็ว่าได้ โดยท่านสีเรียกเศรษฐกิจแบบแนวหยินหยางนี้ว่า ‘เศรษฐกิจแบบผสมกลมกลืนที่มีกลิ่อายความเป็นจีน’ หรือ blended economy with Chinese characteristics ในบริบทนี้ ประธานาธิบดีสียกตัวอย่างว่าการที่จีนมีภาคเอกชนที่เก่งกาจเทียบชั้นกับยักษ์ใหญ่ชาติตะวันตกอย่าง Tencent หรือ Alibaba ได้แบบสบายๆนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ดี จีนยังจำเป็นต้องมีรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลที่แข็งแรงเอาไว้ต้านกับกระแสการเก็งกำไรไม่ว่าจะมาจากประชาชนภายในประเทศหรือจากต่างชาติ เพื่อไม่ให้เป็นเหมือนกับญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 90 ที่แบงก์ของญี่ปุ่นกลายเป็น Zombie Bank ทั้งจากการเก็งกำไรของวงการอสังหาริมทรัพย์และการบีบให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาจากโลกตะวันตก

นอกจากนี้ การพัฒนาของจีนในยุคนี้ ต่างจากช่วงเติ้ง เสี่ยว ผิง ตรงที่ในปัจจุบันเน้นการเติบโตในทุกหัวเมืองทั่วประเทศ ในขณะที่ยุคของท่านเติ้งเน้นเมืองหลักๆที่ติดกับฮ่องกง อาทิ เสิ่น เจิ้น เป็นหลัก

สาม ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีสีค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการให้จีนมีเศรษฐกิจเป็นไปในรูปแบบของ Supply-Side หรือเน้นฝั่งอุปทานให้เยอะไว้ก่อน นั่นหมายถึงใช้ระดับผลิตภาพ นวัตกรรม และการลดขนาดของกำลังการผลิตที่เกินหรือ excess capacity รวมถึงการขยับขึ้นมาของห่วงโซ่อุปทานหรือ Value Chain ในภาคอุตสาหกรรมและบริหาร เพื่อใช้จิ๊กซอว์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงต่อไป ทำให้คิดถึงสมัย 30 กว่าปีก่อน ยุคโรนัลด์ เรแกน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ที่เรียกใช้ เจมส์ โทบินนักเศรษฐศาสตร์สาย Supply Side ทำนโยบายแบบเดียวกันที่เรียกกันติดปากว่า Trickle Down Economy นอกจากนี้ ท่านสียังพยายามลดความสำคัญของฝั่งอุปสงค์ที่มักจะมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจสมัยใหม่ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากยุคของเรแกน ผลพวงของนโยบายในเวลาต่อมาคือการขาดดุลของฐานะการคลังภาครัฐบาล ซึ่งสิ่งนี้ก็ยังเป็นความท้าทายของท่านสีเช่นกัน

ท้ายสุด ผู้นำของจีนได้แบ่งการบรรลุวัตถุประสงค์ของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจออกเป็น ส่วน ได้แก่ เส้นทางหรือกระบวนการ’ และ เป้าหมาย โดยที่ระหว่างการดำเนินไปของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือในส่วนของ ’เส้นทาง’ นั้น เศรษฐกิจจีนถือว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของเส้นทางที่ยาวนานในการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทั้งหมดของเศรษฐกิจจีน เมื่อพิจารณาจากภาคบริการมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 52 ของจีดีพี และการบริโภคของครัวเรือนมีอยู่เพียงร้อยละ 52 ของจีดีพี ซึ่งเส้นทางนี้ถือว่ายังยาวไกลมาก โดยรัฐบาลจีนจะพยายามลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนที่วัดโดยค่าสัมประสิทธิ์ Gini ได้เท่ากับ 0.465 ซึ่งถือว่ามีช่องว่างของรายได้ของชาวจีนอยู่เยอะ ส่วน ’เป้าหมาย’ ของการพัฒนาทางเศรษฐกิจถือว่ายังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะบรรลุถึงจุดนั้นครับ

Comments